ไรฝุ่นตัวจิ๋ว…ศัตรูตัวร้ายบนที่นอน งานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง

ไรฝุ่นบนที่นอน

 

ก่อนอื่นอาจารย์ต้องขอขอบคุณทั้งโครงการ BRT และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่สนับสนุนการวิจัยและดำเนินการเรื่องการจดสิทธิบัตรให้ รวมทั้งขอบคุณทีมงานวิจัย โดยเฉพาะคุณจรงค์ศักดิ์ พุมนวน ที่ได้ร่วมกันทำงานกันอย่างเข้มแข็งด้วยดีเสมอมา ซึ่งขณะนี้มีบริษัทเอกชน 2 บริษัทได้ขอซื้อสิทธิบัตรร่วมกันไว้แล้ว และได้ผลิตและทดลองจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เน้นกลุ่มเป้าหมายต่างกัน บริษัทแรกจะเน้นกลุ่มผู้บริโภคระดับกลาง ส่วนอีกบริษัทเน้นกลุ่มผู้บริโภคระดับกลางถึงระดับสูง เน้นความเป็นสปาและเพื่อส่งออกมากกว่า

 

ที่นอนที่เราซื้อมาใหม่ ๆ จะยังไม่มีไรฝุ่น แต่หลังจากนั้นสักประมาณ 2-3 เดือนก็จะมีไรฝุ่นแล้ว เพราะไรฝุ่นเป็นสัตว์ประเภทที่มีชีวิตอยู่ได้ด้วยการกินเศษขี้ไคล ขี้รังแค สะเก็ดผิวหนังที่ร่วงหล่นเป็นอาหาร ซึ่งตลอดชีวิตของคนเราสลัดคราบผิวหนังเหล่านี้ถึง 3 – 4 กิโลกรัม

 

ไรฝุ่นตัวจิ๋ว…ศัตรูตัวร้ายบนที่นอน งานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง

 

วิธีใช้ไมท์เฟียร์

 

วิธีใช้เพียงฉีดสเปรย์และคลุมด้วยผ้าห่มหนาๆ เดือนแรก 2 ครั้ง เพื่อให้ไรฝุ่นตัวเต็มวัยบนที่นอนตายหมด ยกเว้นไข่จะตายแค่ครึ่งหนึ่ง (ไข่ไรฝุ่นมีอัตราการหายใจต่ำ ฉะนั้นไข่อาจจะตายเพียงครึ่งหนึ่ง) สัปดาห์ต่อมาจึงฉีดซ้ำเพื่อฆ่าตัวอ่อนไรฝุ่นที่เหลือ หลังจากนั้นก็ทำความสะอาดด้วยการปัดกวาดหรือดูดฝุ่นซ้ำอีกครั้งยิ่งดี หลังจากนั้นก็ฉีดซ้ำทุก 1-2 เดือนเท่านั้น ซึ่งดีกว่าต้องไปพบแพทย์เป็นประจำ

 

สรรพคุณของสมุนไพรที่ใช้กำจัดไรฝุ่นที่ผมภูมิใจมากก็คือ มีงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า กานพลูและอบเชยสามารถฆ่าเชื้อราและแบคทีเรียได้ด้วย เป็นผลพลอยได้โดยที่เราไม่ตั้งใจ เหมือนเราได้ซักแห้งที่นอน อีกทั้งมีกลิ่นหอมแบบดั้งเดิมเหมือนการปรับอากาศและทำให้หลับสบาย ส่วนคนที่ใช้และเป็นโรคภูมิแพ้หลายคนก็มีอาการดีขึ้นมาก อีกอย่างซึ่งตอนนี้กำลังให้ลูกศิษย์ปริญญาโททำวิจัยอยู่ก็คือ น้ำมันหอมระเหยเหล่านี้สามารถลดระดับสารก่อภูมิแพ้ได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งการวิจัยที่ผ่านมากว่าจะหาจุดที่เหมาะสมได้ก็ใช้เวลาไปหลายปีเหมือนกัน

 

 ที่มา : บทสัมภาษณ์ และ เอกสารเผยแพร่ไรฝุ่นบ้าน โดย ผศ.ดร.อำมร อินทรสังข์ และทีมวิจัย